วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

BBE [Buddhists Blasting Ears Magazine] Issue1

นี่คือแม็กกาซีนที่ข้าพเจ้าได้ทำขึ้นมาด้วยตัวข้าพเจ้าเองเพื่อสนอง อารมณ์ตนเอง ถ้าจะเอาไปปล่อยต่อก็ให้เครดิตกันด้วย อย่าแอบอ้างชื่อตนบนงานคนอื่น
โหลดไปดูตามลิงค์เลยครับ http://www.mediafire.com/?vhpf3n0o4vrqmho

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติแนว Extreme metal

ลักษณะทั่วไปของดนตรีเอกซ์ตรีม
ลักษณะหลักๆทั่วไปของดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นก็ตรงตัวคำแปลภาษาอังกฤษของมันก็ คือมันมี "ความสุดขั้ว" อันทำให้มันเป็นสิ่งที่ผู้ฟังทั่วๆ ไปยากที่จะรับฟังได้ ในหลายๆ กรณีแล้วมันก็ถึงกับเป็นที่ถกเถียงกันเลยว่าสิ่งเหล่ายังเป็นดนตรีอยู่หรือ เปล่า ซึ่งข้อถกเถียงนี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับกลุ่มทางดนตรีที่เรียก กันอย่างหลวมๆว่าดนตรีทดลอง เช่นเดียวกัน
ความสุดขั้วของดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นสามารถเป็นความสุดขั้วได้หลากหลายทาง เช่น ความเร็วของเพลงที่เร็วจนผิดไปจากเพลง "ทั่วๆไป" (เช่น สปีด/แทรชเมทัล เดธเมทัล ไกรนด์คอร์) หรือ ช้าและหนืดว่าเพลง "ทั่วไป" เช่น พวก สลัดจ์คอร์ หรือพวกดูมแบบสุดขั้วอย่างพวกโดรนดูม เป็นต้น หรือ จะเป็นการมีเสียงรบกวนปะปนอยู่มากในเพลง เช่น นอยส์คอร์ การมีเนื้อหาที่อุจาด รุนแรง ดูไม่มีเหตุผล (non-sense) ซึ่งมักจะไปด้วยกันกับเสียงร้องที่เป็นที่เรียกกันอย่างทั่วไปว่า "สำรอก" หรือ "แผด" อันมีรายละเอียดปลีกย่อยไปตามแต่ละแนวดนตรี (เช่นโดยทั่วไปแล้วลักษณะการออกเสียงของดนตรีเดธเมทัล แบล็คเมทัล และ ฮาร์ดคอร์ นั้นแม้จะดูฟังไม่รู้เรื่องและไม่ค่อยมีท่วงทำนอง (Melody) เหมือนๆกันสำหรับคนทั่วๆไป แต่ทั้งสามแนวทางการร้องนั้นก็มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนที่แยกแยะได้สำ หรับผูฟังดนตรีเอกซ์ตรีโดยทั่วๆไป) นอกจากนี้แล้วดนตรีเอกตรีมนั้นยังมีการใช้ตัวโน้ตในสเกลแปลกๆ ที่อาจฟังดูขัดหูเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ฟังเพลงทั่วไปที่จะคุ้นเคยกับสเกล ฟื้นๆ อย่าง เมเจอร์ หรือ ไมเนอร์ มีการใช้ไทม์ซิกเนเจอร์แปลกๆ เช่น 7/8/ 5/4 เป็นต้น (ดนตรีทั่วไปแทบจะร้อยทั้งร้อยจะประกอบด้วยไทม์ซิกเนเจอร์ 4/4) ซึ่งถึงกับมีรายงานว่าวงดนตรีบางวงถึงกับทำการทอยลูกเต๋าเพื่อเลือกไทม์ซิก เจอร์กันเลยทีเดียว เช่น การณีของวง เดอะ ดิลลิงเจอร์ เอสเคป แพลน (The Dillinger Escape Plan) และ สุดท้ายก็คือโครงสร้างอันแปลกประหลาดของเพลง (ถ้าเทียบกับเพลงป็อปร็อกทั่วๆไป) และ ความยาวที่ไม่ปกติของเพลง เช่น การที่เพลงเดียวยาว 30 นาที หรือ การมีเพลงกว่า 50 เพลงในอัลบั้ม หรือ อีพี ที่ยาวไปถึงยี่สิบนาที เป็นต้น

พลวัตของดนตรีเอกซ์ตรีม
พื้นฐานแล้วเป็นดนตรีที่ปฏิเสธดนตรีกระแสหลัก (Main Stream) ของผู้ฟังทั่วๆไป ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงของดนตรีกระแสหลัก นั้นจึงนำไปสูการเปลี่ยนแปลงของดนตรีเอกซ์ตรีมด้วย นี่แสดงให้เห็นว่าดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบที่ตายตัว ในช่วงเวลาที่ต่างกันดนตรีเอกซ์ตรีมนั้นก็อาจต่างกันใด้ ความเข้าใจดังกล่าวจะไม่ทำให้เราสับสนกับสิ่งที่เคยเป็นดนตรีเอกตรีมและ สิ่งที่เป็นอยู่ เช่น ในช่วงราวต้นถึงกลางทศวรรษที่ 1980 นั้นเราอาจกล่าวได้ว่า สปีด/แทรชเมทัลนั้นเป็นเอกซ์ตรีมมิวสิก แต่ในช่วงกลางยุค 1990 ที่แทบจะไม่มีใครเล่นแทรชเมทัลกันอย่างเมื่อก่อน ซึ่ง เดธและแบล็คเมทัล (ซึ่งเป็นลูกหลานทางดนตรีที่หนักกว่าสปีด/แทรชเมทัล) โตเต็มที่แล้ว เราก็อาจกล่าวได้ว่าดนตรีแทรชเมทัลนั้นไม่ใช่ดนตรีเอกซ์ตรีมอีกต่อไป แต่ดนตรีเดธเละแบล็คเมทัลต่างหากที่เป็นดนตรีเอกซ์ตรีมในปัจจุบันเป็นต้น
อย่างไรก็ดีก็เช่นเดียวกับการจัดประเภทดนตรีชนิดอื่นๆ ซึ่งไม่มีรูปแบบตายตัวอะไร และ ไม่มีความเห็นอย่างเป็นเอกฉันท์ทั้งในหมู่นักวิจารณ์และ ผู้ฟังทั่วๆไป การบอกว่าอะไรเป็นเอกซ์ตรีมมิวสิกหรือไม่เป็นนั้นก็เป็นสิ่งที่โต้แย้งได้เสมอ ดังนันความเห็นที่เป็นกลางที่สุดก็คงต้องเป็นการรายงานปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างตรงไปมา แม้ว่ามันจะไม่มีตรรกะที่ใช้ได้กับทุกกรณีสำหรับการจัดว่าอะไรเป็นเอกซ์ตรีมเมทัลและอะไรไม่เป็น โปรดดูปัญหาในการจัดประเภทดนตรีได้อย่างชัดเจนที่สุดต่อเมื่อมีดนตรีประเภทใหม่ๆ อุบัติขึ้น เช่นใน Discussion Page ของ Wikipedia ในหน้าของ Metalcore และ N.W.O.A.H.M เป็นต้น

ดนตรีเอกซ์ตรีมในประเทศไทย
ดนตรีเอกซ์ตรีม ที่มึอยู่ในประเทศไทยนั้นส่วนใหญ่จะจำกัดตัวอยู่ในวงการเฮฟวี่เมทัลเป็นหลัก
*คัดลอกมาจาก wiki ฉบับภาษาไทย*

วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติแนว Blues rock

บลูส์ร็อก (อังกฤษ: Blues-rock) เป็นแนวเพลงผสมผสานระหว่างการแสดงคีตปฏิภาณแบบบลูส์ บนคอร์ดแบบ 12 บาร์บลูส์และการแจมแบบบูกี้กับสไตล์ร็อกแอนด์โรล โดยแกนหลักของบลูส์-ร็อก คือเครื่องดนตรีกีตาร์ไฟฟ้า กีตาร์เบสและกลองชุด ซึ่งกีตาร์ไฟฟ้าจะขยายผ่านตู้แอมไฟฟ้า ให้มีลักษณะรุนแรงมากขึ้น
แนวเพลงนี้เริ่มพัฒนาในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่ปิเอโร สการัฟฟีเรียกว่า "เป็นแนวเพลงริทึมแอนด์บลูส์ที่เล่นโดยนักดนตรีขาวชาวยุโรป" วงดนตรีอังกฤษอย่างเช่น เดอะฮู, เดอะยาร์ดเบิร์ดส, เลดเซปเพลิน, ดิแอนนิมอลส์, ครีม และเดอะโรลลิงสโตนส์ ได้ทดลองดนตรีดังกล่าวจากศิลปินบลูส์ชาวอเมริกัน อย่าง ฮาวลิน วูล์ฟ, โรเบิร์ต จอห์นสัน, จิมมี ลีดและมัดดี วอเตอร์ส ขณะที่วงบลูส์ร็อกยุคแรก "จะพยายามเล่นเพลงแจ๊ซยาว ๆ ที่มีลักษณะคีตปฏิภาณ อย่างเห็นได้ชัด" โดยคริสต์ทศวรรษ 1970 บลูส์ร็อกเริ่มหนักขึ้นกับเน้นท่อนริฟฟ์ และในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970 เส้นแบ่งระหว่างบลูส์ร็อกและฮาร์ดร็อกเกือบจะไม่เห็น วงแนวนี้บันทึกเสียงอัลบั้มแนวร็อก และในคริสต์ทศวรรษ 1980 และ 1990 ก็เริ่มกลับมาที่รากบลูส์เดิม และมีศิลปินอย่าง "เฟบูลัสธันเดอร์เบิร์ดสและสตีวี เรย์ วอแกน สร้างชื่อเสียงวงการร็อกขึ้น"
*คัดลอกมาจากวิกิพีเดียฉบับภาษาไทย*
---------------------------------------------------

-ต้นกำเนิดของแนวเพลงคือ บลูส์ (โดยเฉพาะ อิเล็กทริกบลูส์) บริติชบลูส์ ร็อกแอนด์โรล.
-แหล่งกำเนิด ต้นถึงกลางคริสต์ทศวรรษ 1960 ใน สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา.
-เครื่องดนตรีหลัก กีตาร์ไฟฟ้า, กีตาร์เบส, กลองชุด, เสียงร้อง, แฮมมอนด์ออร์แกน, ฮาร์โมนิกา.
-ได้รับความนิยมสูงสุดในคริสตทศวรรษ 1960 และ 1970